project_wacharawit

1. ชื่อโครงการ ไทย-อังกฤษ
การพัฒนา ระบบการจัดการ การเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 สำหรับหลักสูตร
ชั้นนายร้อยทหารการข่าว โรงเรียนข่าวทหารบก
Development of E-Learning Management System Using Web2.0 for Army’s Intelligence Officer Basic Curriculum at Army’s Intelligence School
2. ชื่อผู้จัดทำ – ที่ทำงาน
พ.อ.วัชรวิทย์ ณรงค์พันธุ์ รหัส 5417650251 - กองการศึกษา โรงเรียนข่าวทหารบก
3. หลักการและเหตุผล
หลักสูตรชั้นนายร้อยทหารการข่าวเป็นหลักสูตรตามแนวทางรับราชการของกำลังพลชั้นสัญญาบัตรเหล่าทหารการข่าว ชั้นยศ ร้อยตรี- ร้อยเอก มีระยะเวลาในการศึกษา ประมาณ ๓ เดือน หลังจากที่จบการ
ศึกษาในหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตร
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาสั้น มีเนื้อหาวิชามาก มีแนวทางการสอนเดิมเป็นแบบบรรยายเป็นหลักเพื่อให้นายทหารนักเรียนได้รับความรู้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จุดประสงค์หลักของการฝึกศึกษาของกองทัพบกต้องการที่จะพัฒนาทักษะของกำลังพลให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมๆ นั้นไม่สามารถที่จะผลิตให้นายทหารนักเรียนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ทบ.ได้
การพัฒนาระบบการจัดการ การเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 สำหรับหลักสูตรชั้นนายร้อยทหารการข่าว โรงเรียนข่าวทหารบก นอกจากจะช่วยเป็นช่องทางในการเตรียมความรู้พื้นฐานนายทหารนักเรียนที่ได้รับการอนุมัติให้เข้ารับการศึกษา ให้พร้อมก่อนที่จะเปิดการศึกษา ยังจะช่วย
ให้ ครูสามารถเพิ่มเติมแบบฝึกเสริมทักษะในการปฏิบัติงานด้านการข่าว ให้แก่นายทหารนักเรียนอีกด้วย
4. วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการ การเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0
สำหรับหลักสูตรชั้นนายร้อยทหารการข่าว โรงเรียนข่าวทหารบก

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
โครงการพัฒนานี้เริ่มต้น 15 กรกฎาคม 2554 และ สิ้นสุด 30 กันยายน 2554
โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
5.1 รวบรวมเนื้อหาหลักสูตรชั้นนายร้อยทหารการข่าว พร้อมทั้งพิจารณาวิชาที่สามารถจัดการเรียน
การสอนโดยอาจารย์เป็นผู้นำเนื้อหา(Content)ของวิชาต่างๆ ใส่เข้าไปในServer ซึ่งจะนำไปเชื่อมต่อกับ Web Blog ผ่านระบบการจัดการการเรียนการสอนแบบ e-Learning ได้ ทั้งนี้จะมีการนัดให้ ผู้เรียนเข้ามาศึกษาเนื้อหาแต่ละวิชาพร้อมทั้งรับมอบงานจากครูผู้สอนที่ใส่ไว้ใน Web Blog ท้ายบทเรียนพร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ผู้เรียนส่งงานให้อาจารย์ตรวจ เมื่ออาจารย์ตรวจเสร็จแล้วจะส่งผลการตรวจและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบหากพบว่า ผู้เรียนยังมีทักษะในการแก้ปัญหาไม่มากพอก็จะมอบงานให้ผู้เรียนกลับไปทำใหม่จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนด
5.2 ศึกษาและรวบรวม เครื่องมือ โปรแกรม และ บริการบนเว็บ2.0 ที่เหมาะสมกับการนำมา
จัดทำระบบ
5.3 ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ระบบการจัดการการเรียนการสอนแบบ e-Learning และWeb page
ส่วนต่าง ๆ ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ การประเมินผล ของครูผู้สอน
5.4 พัฒนาสตอรี่บอร์ดระบบ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไข
5.5 ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน ประเมินผลการดำเนินการ และปรับปรุงแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องให้มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน
5.6 นำเสนอ ระบบการจัดการการเรียนการสอนแบบ e-Learning ที่สมบูรณ์
6. ประมาณการงบประมาณ
ไม่มี
7. ผลงาน และ ต้นแบบ
ผลงานที่สมบูรณ์ของโครงการ คือ
ระบบการจัดการ การเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 พร้อมตัวอย่าง
เนื้อหาสาระ กิจกรรม ในวิชาการข่าวกรองและวิชาต่อต้านการข่าวกรอง ซึ่งเป็นวิชาหลักในหลักสูตรชั้นนายร้อยทหารการข่าว ของโรงเรียนข่าวทหารบกจำนวน 15 หน่วยกิต โดยมีรายละเอียดดังนี้
ต้นแบบผลงานสมบูรณ์ ประกอบด้วย
หลักสูตรชั้นนายร้อยทหารการข่าวประกอบด้วยวิชาหลัก จำนวน 11 วิชา จำนวน 14 หน่วยกิต ซึ่งจะออกแบบให้มีรูปแบบการเรียนการสอน e-Learning ในขั้นต้น จำนวน 2 วิชาหลักของหลักสูตร โดยมีเนื้อหาที่จะพัฒนาดังนี้
วิชาข่าวกรองทางยุทธวิธี: ทบทวนหลักการข่าวกรอง การแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานด้านการข่าว หลักพื้นฐานการปฏิบัติงานข่าวกรอง ความสัมพันธ์ระหว่างข่าวกรองทางยุทธศาสตร์และข่าวกรองทางยุทธวิธี กรรมวิธีในการผลิตข่าวกรอง ประกอบด้วย การวางแผนรวบรวมข่าวสาร การรวบรวมข่าวสาร การดำเนินกรรมวิธีต่อข่าวสาร และการใช้ประโยชน์จากข่าวกรองที่ผลิตได้ ได้แก่ สรุปข่าวกรอง ประเภทของการรายงานข่าวกรองและสรุปข่าวกรอง วิธีการจัดทำฝึกการจัดทำรายงานข่าวกรองและสรุปข่าวกรอง
วิชาการต่อต้านการข่าวกรอง : คำจำกัดความ ประวัติ เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ในการปฏิบัติการจารกรรม การก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย และมาตรการในการต่อต้าน ความรับผิดชอบ การดำเนินการ และมาตรการของการ รปภ.เกี่ยวกับบุคคล เอกสาร สถานที่ และมาตรการของการ รปภ.เกี่ยวกับการประชุมลับ สาเหตุแห่งการละเมิด หน้าที่และความรับผิดชอบเมื่อเกิดการละเมิด ประเภทของชั้นความลับ การกำหนดชั้น ความลับการทะเบียน การดำเนินการ การใช้ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 วิธีการจัดทำงานการรักษาความปลอดภัยตามแบบฟอร์มที่กำหนดในระเบียบ ฝึกการจัดทำแบบฟอร์ม





8. โครงสร้างต้นแบบ
ประกอบด้วยเมนูหลักจำนวน 5 เมนู โดยมีแผนภูมิต้นไม้ตามแนบ สรุปดังนี้
8.1 วิชาข่าวกรองยุทธวิธี ทำหน้าที่ในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้เรียน ลงในฐานข้อมูลประกอบด้วย ประกอบด้วย 4 บทเรียน คือ การวางแผนรวบรวมข่าวสาร(Planning) การรวบรวมข่าวสาร (Gathering) การดำเนินกรรมวิธี (Processing) การใช้ประโยชน์ข่าวสาร/ข่าวกรอง(Expoiting)
8.2 วิชาต่อต้านการข่าวกรอง ทำหน้าที่ในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สอนลงในฐานข้อมูลประกอบด้วย 6 ประกอบด้วย 4 บทเรียนคือ การรักษาความปลอดภัยเอกสาร(Document) การรักษาความปลอดภัยสถานที่(Place) การรักษาความปลอดภัยบุคคล(Personal) และการรักษาความปลอดภัยการติดต่อสื่อสาร(Communication)
8.3 แหล่งข้อมูล เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้าน ทฤษฎีการวิเคราะห์ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับเครื่องรวบรวมข่าวสารที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการติดตามข่าวสารจาก Open sources
8.4 การฝึกแก้ปัญหา “ Exercise ” เป็นการฝึกเพื่อให้เกิดทักษะในการ รักษาความปลอดภัยสถานที่ รักษาความปลอดภัยเอกสาร รักษาความปลอดภัยบุคคล และการติดต่อสื่อสาร
8.5 ช่องทางการติดต่อสื่อสาร “ Share Idea “ เป็นช่องการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน



พ.อ. วัชรวิทย์ ณรงค์พันธุ์
ผู้เสนอโครงการ